Uploaded with ImageShack.us health-pondkub: ความดันโลหิตสูง...ภัยมืดใกล้ตัว

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความดันโลหิตสูง...ภัยมืดใกล้ตัว

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญมากอย่างหนึ่งของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากคนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมักไม่มีอาการหรืออาการแสดงในระยะแรก แต่มักมีอาการหรืออาการแสดงเมื่อโรคเป็นมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายเกิดขึ้นกับ หัวใจ ตา ไต และสมอง เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดทำให้มีผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว


ความหมายของความดันโลหิตสูง
        ความดันโลหิตสูง (hypertension)หมายถึงค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 140 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับหรือสูงกว่า 90 มม.ปรอท
สำหรับผู้สูงอายุ 50 - 60 ปีขึ้นไปมีความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 45 โดยมีค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือสูงกว่า 160 มม. ปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับหรือสูงกว่า 95 มม.ปรอท เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสื่อมของหลอดเลือดแดง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงซีสโตลิค (systolic hypertension)
การวัดความดันโลหิตให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ควรวัดเมื่อผู้ถูกวัดได้พักอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย หรือวัดหลังจากรับประทานอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ อย่างน้อย 30 นาที

อาการของความดันโลหิตสูง
        อาการของความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปได้แก่ มีเลือดกำเดาออก ปวดศีรษะโดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน มึนงง ตาพร่ามัว


การจัดระดับของความดันโลหิตสูง แบบ 4 ระดับ (Four stages)
        ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ ดังนี้

ระดับของ             Systolic (มม.ปรอท)     Diastolic (มม.ปรอท)                               คำ แนะนำ
ความดันโลหิต
ปกติ(Normal)                 <130                             <85                         ควรมาพบแพทย์ตรวจร่างกาย ทุก1 ปี

สูงกว่าปกติ                  130 - 139                      85 - 89                       ควรมาพบแพทย์ตรวจร่างกายทุก 6 เดือน
(High normal)

ระดับที่1(Stage1)       140 - 159                      90 - 99                         มาพบแพทย์ทุก 2 เดือน

ระดับที่2(Stage2)       160 - 179                    100 - 109                       มาพบแพทย์ทุกเดือน

ระดับที่3(Stage3)       180 - 209                    110 - 119                       มาพบแพทย์ทุกสัปดาห์

ระดับที่4(Stage4)            >210                            >120                         มาพบแพทย์ทันที


การประเมินความเสี่ยง
1. ประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ได้แก่ ประวัติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต โรคไทรอยด์ เบาหวาน เชื้อชาติ วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย วัยสูงอายุ การตั้งครรภ์ อุปนิสัยในการรับประทานอาหารไขมันและอาหารเค็ม ปัจจัยทางด้านสังคมด้านจิตใจโดยเฉพาะภาวะเครียด ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การออกกำลังกาย ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
2. ประวัติการได้รับยา คือข้อมูลเกี่ยวกับเคยได้ยาลดความดันโลหิตสูง หรือเคยได้ยาซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา
3. ประวัติเกี่ยวกับอาการทั่วๆไป เกี่ยวกับอาการมึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเลือดกำเดาออก
4. ประวัติเกี่ยวกับการหายใจลำบากเมื่อออกแรง
5. ประวัติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่นอาการใจสั่นเมื่อออกแรง
6. ประวัติเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
7. ประวัติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ตาพร่ามัว อาการชา และปวดศีรษะโดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน




                                                                                                                                               ขอขอบคุณ
                                                                                                                                     คุณ วิไลวรรณ ตรีถิ่น





  ขอขอบคุณ
แหล่งที่มาจาก  http://www.academic.hcu.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น